มาทำความรู้จัก กับชนิดของ ยาฆ่าแมลง กันดีกว่า

ยาฆ่าแมลงที่ใช้ควบคุมและ กำจัดแมลงต่างๆที่เป็นศัตรูพืชที่ใช้ในการเกษตรและการสาธารณสุขซึ่งมีสมบัติทำให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ และ สัตว์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 จำพวกคือ

1. ยาฆ่าแมลงจำพวกฮอร์โมนและเฟอโรโมน (hormones and pheromones) ยาฆ่าแมลงจำพวกนี้นับว่าค่อนข้างใหม่มาก และกำลังศึกษา ค้นคว้ากันอยู่ จากการที่ใช้ฮอร์โมนเข้าไปเปลี่ยนแปลงระบบการเจริญเติบโต และระบบการสืบพันธุ์ของแมลง เช่น ใช้จูวีไนล์ ฮอร์โมน (juvanile hormone) กับลูกน้ำยุง ทำให้ลูกน้ำยุงไม่เติบโตเป็นยุงตัวเต็มวัย ไม่เกิดการผสมพันธุ์ขึ้น ส่วนเฟอโรโมนนั้น ใช้ในการดึงดูดให้แมลงมารวมกันมากๆ ในจุดที่ต้องการ แล้วทำลายแมลงเหล่านั้นโดยเร็ว หรือการใช้เฟอโรโมนเทียมทำให้แมลง สับสนและหาคู่ผสมพันธุ์ในธรรมชาติไม่ได้ ในที่สุดปริมาณจะลดลงหรือ สูญพันธุ์ไป

2. ยาฆ่าแมลงจำพวกคาร์บาเมต (carbamates) ได้แก่ คาร์บารีล หรือเซวิน เทมิค และฟูราแดน เป็นยาฆ่าแมลงที่ค่อนข้างใหม่กว่ายาฆ่าแมลง จำพวกคลอริเนตเตทไฮโดรคาร์บอน และออร์กาโนฟอสเฟต มีพิษต่อ มนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นน้อยมาก ยกเว้นยาเทมิค สลายตัวได้รวดเร็ว ไม่ ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อม แต่มีราคาค่อนข้างแพง

3. ยาฆ่าแมลงจำพวกสารที่เป็นเชื้อโรคของแมลง (insect pathogens) ได้แก่ ทูริไซด์และอาร์โกนา ผลิตจากเชื้อแบคทีเรียและไวรอนเอช ผลิตจากไวรัส โดยที่เชื้อโรคของแมลงเหล่านี้รวมทั้งไส้เดือนฝอย สัตว์เซลล์เดียว และเชื้อรา จะทำให้แมลงเกิดเป็นโรคและตายในที่สุด นิยมใช้กันมากในต่าง ประเทศ เช่น ใช้เชื้อแบคทีเรียชนิด Bacillus thuringiensis ในการปราบหนอน คืบผักกาด ข้อดีของยาฆ่าแมลงจำพวกนี้คือ จะมีอันตรายเฉพาะเจาะจงต่อ ศัตรูพืช แต่ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์อื่นๆ

4. ยาฆ่าแมลงจำพวกคลอริเนตเตทไฮโดรคาร์บอน (chlorinated hydrocabon) หรือยาจำพวกออร์กาโนคลอรีน (organochlorine) ได้แก่ ดีดีที เคลเธน คลอเดน อัลดริน ดรีลดริน ฯลฯ ใช้กำจัดแมลงได้อย่างกว้างขวาง มีพิษคงทนอยู่ในธรรมชาติได้นาน จึงมีปัญหาสารพิษตกค้างในอาหาร และเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมมาก

5. ยาฆ่าแมลงจำพวกออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphates) ได้แก่ พาราไธออนหรือโพลิดอล ซูมิไธออน มาลาไทออน กูซาไทออน เมวินฟอส ไดอะซิโนน ไดซีสตอน ฯลฯ มีประสิทธิภาพสูงในการฆ่าแมลงและ สลายตัวได้รวดเร็วหลังการใช้จึงใช้ได้ดีในพืชผัก โดยการพ่นก่อน เก็บเกี่ยวในระยะเวลาสั้นๆ บางชนิดมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึม (systemic insecticide)จึงใช้ได้ดีในการปราบแมลงปากดูดจำพวกเพลี้ย และมวน และแมลงที่กัดกินอยู่ภายในลำต้น เช่น หนอนเจาะลำต้น

6. ยาฆ่าแมลงจำพวกสกัดมาจากพืช (botanical insecticide) ได้แก่ ยาฉุน ได้จากใบยาสูบ โล่ติ้นได้จากรากของต้นหางไหล (Derris elliptica)และไพรีทรินส์ได้จากดอกต้นไพริทรัม (Chrysanthemum cineraiaefolium) ยาฆ่าแมลงจำพวกนี้โดยเฉพาะไพรีทรินส์นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย โดยผสมกับยาฆ่าแมลงอื่นๆ บรรจุในกระป๋องสเปรย์ ฆ่ายุง มีพิษต่อระบบ หายใจของแมลง แมลงจะมีอาการขาดออกซิเจนและเป็นอัมพาตตายในที่สุด มีพิษต่อคนและสัตว์เลือดอุ่นน้อยมาก สลายตัวได้รวดเร็ว จึงไม่มีพิษตกค้าง ในสิ่งแวดล้อม

7. ยาฆ่าแมลงจำพวกสารอนินทรีย์ inorganic insecticide ได้แก่ สารจำพวกสารหนู กำมะถันผง และคอปเปอร์ซัลเฟต (Copper sulphate) สารหนูเป็นยาฆ่าแมลงที่ใช้กันมานานแล้ว นิยมใช้ในการป้องกันกำจัดแมลง ประเภทปากกัดกิน เช่น แมลงสาบ ปลวก ตั๊กแตน และตัวหนอนผีเสื้อ กินพืชบางชนิด ถึงแม้ว่าจะมีอันตรายน้อยต่อแมลงที่มีประโยชน์ แต่มีพิษ ต่อคนและสัตว์มาก สลายตัวได้ยากและมีพิษต่อพืชสูง

ขอบคุณข้อมูลดีๆโดย : คุณจารุจินต์ นภีตะภัทร

511 @สงวนสิขสิทธิ์โดย สวนมะนาวท้ายไร่ จังหวัดพิจิตร