ให้น้ำแบบ ระบบน้ำหยด กับสวนมะนาว มีโทษมากกว่ามีคุณ

ธรรมชาติของมะนาวรากจะไม่หยั่งลึกมากนัก และเป็นพืชที่มีระบบรากกระจายตัวออกไปรอบๆทรงพุ่มโดยรากใหม่จะออกมาเสมอและเป็นฝอย จึงทำให้การดูดซับธาตุอาหารของมะนาวสามารถทำได้รวดเร็วมาก เช่นหากใส่ปุ๋ยไปแล้วประมาณ 3-7 วันมะนาวจะแสดงให้เห็นได้ทันทีเลยว่าใบเขียวตั้งขึ้นและอาจจะแตกยอดอ่อนออกมา หรือ งดให้น้ำก็จะใช้เวลาไม่นานในการตอบสนองออกมาทางใบคือใบแห้งเหี่ยว

สำหรับการให้น้ำมะนาวไม่ว่าจะแบบปลูกลงดินหรือลงวงบ่อซีเมนต์นั้นต้องให้น้ำให้ทั่วถึงพื้นดินรอบๆต้นมากที่สุด สำหรับรากที่กระจัดกระจายตัวอยู่ทั่วไปต้องได้รับน้ำอย่างทั่วถึงโดย เฉพาะในช่วงฤดูแล้ง มีผู้ปลูกมะนาวมือใหม่หลายท่านมีแนวคิดว่าจะต้องใช้ระบบน้ำหยดเนื่องจากให้หยดไปเรื่อยๆจะได้ไม่ต้องมาให้น้ำบ่อยๆ แบบนี้ไม่ถูกต้องครับ อย่างที่กล่าวข้างต้นคือมะนาวรากแผ่กระจายไปทั่วและต้องการน้ำมาเป็นสื่อในการดูดซับธาติอาหาร หากการให้น้ำเพียงจุดใดจุดหนึ่งบริเวณโคนต้นก็ไม่สามารถทั่วถึงไปยังรากส่วนอื่นๆได้ ทำให้มะนาวไม่สมบูรณ์ใบเหลือง และมีผลกระทดต่อผลผลิต และที่สำคัญเมื่อน้ำหยดลงดินอยู่ที่จุดๆเดียวนานๆทำให้รากมะนาวเป็นเชื้อราและลูกลามในที่สุดทำให้มะนาวต้นนั้นโม่โตครับ

การให้น้ำมะนาวที่ถูกต้องคือระบบการกระจายตัวไปรอบๆทรงพุ่มโดยใช้สปริงเกอร์ หรือ มินิสปริงเกอร์ โดยในช่วงหน้าแล้วสำหรับการปลูกลงดินสามารถให้ 3-5 วันต่อครั้ง โดยแต่ละครั้งต้องให้ชุ่มฉ่ำมากๆไปเลย และสำหรับวงบ่อซีเมนต์สามารถให้ได้ทุกวันช่วงไหนก็ได้ เพราะวงซีเมนต์จะเป็นตัวเร่งในการดูดความชื้นออกไปด้วย

ทำความเข้าใจเรื่องน้ำหยดนิดหนึ่ง คือระบบน้ำหยดนั้นเหมาะกับการปลูกพืชล้มลุกที่ระบบรากไม่แผ่ไปไกลมากเช่นปลูกแตงโม แตงไทย เป็นต้น แต่สำหรับพืชที่มีระบบรากกระจายไปรอบๆทรงพุ่มนั้นเหมาะแบบการให้น้ำแบบกระจายตัวมากกว่า

หมายเหตุ : มีหลายคนคัดค้านว่าไม่จริงเพราะต่างประเทศเขาทำน้ำหยดกันได้ ขอชี้แจงว่าระบบน้ำหยดแบบไทยๆ มันต่างจากของต่างประเทศนะครับ หากเราทำระบบได้แบบนั้น ต้องยอมรับว่าน้ำหยดแน่นอน

978 @สงวนสิขสิทธิ์โดย สวนมะนาวท้ายไร่ จังหวัดพิจิตร