โรคกรีนนิ่งและ การป้องกันโรค

ลักษณะโดยทั่วไปบริเวณปลายยอดจะเหลือง มีอาการด่างเหลืองแทรกระหว่างเส้นใบ หรือเส้นใบซีดเหลือง ต่อมา ใบจะซีดเหลืองและขนาดใบเล็กลง ใบมักชี้ตั้งขึ้นคล้ายโรคใบแก้วจากการขาดธาตุสังกะสี ใบร่วงมากต้นชะงักการเจริญ กิ่งมะนาวมักแห้งตายรวดเร็ว มะนาวเป็นพันธุ์ที่อ่อนแอ และโรคมักเริ่มจากบางกิ่งแล้วจึงลุกลามไปกิ่งอื่นทั่วต้น ( ถ้าขาดธาตุอาหารจะเป็นพร้อมกัน ผลมีขนาดเล็ก และร่วงก่อนสุก ผลมะนาวมีปื้นสีเขียวบนผลที่สุกเหลือง

ใบมะนาวที่เป็นโรคนี้จะมีสีเหลืองจนถึงเหลืองซีด เส้นกลางใบและเส้นแขนงมีสีเขียวอยู่ด้วย บางครั้งพบว่าใบจะมีสีจุดสีเหลืองเป็นแต้ม ๆ หรือจ้ำ กระจายไปทั่วบนใบ ส่วนมากจะพบกับใบอ่อน มะนาวที่เป็นโรคนี้ขนาดของใบจะเล็กลงหนากว่าปกติ และปลายใบตั้งชี้ขึ้น ถ้าหากเป็นโรครุนแรงใบแก่จะโค้งงอผิดปกติ กิ่งและข้อสั้นกว่าปกติ แตกกิ่งมาก เป็นกิ่งไม้กวาด ขนาดผลเล็กเมล็ดลีบ (เมล็ดตาย) ผลมักร่วงก่อนแก่ และจะพบกิ่งแห้งตายจากส่วนปลายยอด แล้วลุกลามไปทั่วต้น

สาเหตุของโรค เชื้อแบคทีเรีย Fastidious phloem limited bacterium Liberobacter asiaticum (Bacterial like organism) การแพร่ระบาด

ถ่ายทอดโดยแมลงเพลี้ยไก่แจ้หรือเพลี้ยกระโดดมะนาว (Diaphorina citri ) เพลี้ยอ่อนส้ม และยังถ่ายทอดทางท่อนพันธุ์หรือกิ่งตอนด้วย(โดยเชื้อคล้ายบักเตรีติดไปกับกิ่งพันธุ์)

การป้องกันกำจัด

1. กรณีปลูกใหม่ควรใช้ตอพันธุ์ที่ติดตาด้วยพันธุ์ที่ปลอดเชิ้อและควรมีแหล่งรับรองพันธุ์ เช่น กรมวิชาการเกษตร ตอพันธุ์มีด้วยกันหลายพันธุ์ เช่น ทรอยเยอร์ คลีโอพัตรา แรงเพอร์ไลม์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละพันธุ์จะมีความต้านทานโรคและเหมาะในพื้นที่ปลูกแตกต่างกัน แต่ก็ใช้ได้ทุกพันธุ์ ส่วนตาพันธุ์ต้องปลอดโรค

2. ถ้าหาตอพันธุ์ดังกล่าวในข้อ 1. ไม่ได้ การปลูกใหม่ต้องเลือกใช้กิ่งตอนที่ปราศจากโรคและต้องชุบกิ่งตอนในสารละลาย Tetracycline hydrochoride อัตรา 1,000 ppm.หรือฉีดพ่นที่ใบหรือกิ่งตอน (กรณีนี้ต้นมะนาวจะมีอายุการเก็บเกี่ยวเพียง 5-6 ปี เท่านั้น จะแสดงอาการโรคกรีนนิ่ง จึงต้องหมั่นฉีดวัคซินพืช (ชื่อการค้า ดีท๊อกซิน) ป้องกันเป็นประจำ จะยืดการเก็บเกี่ยวได้ถีง 9-10 ปี)

3. ทำลายต้นที่เป็นโรค โดยดูจากระดับความเป็นโรคได้ 3 ระดับ

ระดับ1 ประเมินต้นมะนาวที่เป็นโรค < 25%

ระดับ2 ประเมินต้นมะนาวที่เป็นโรค 25-50%

ระดับ3 ประเมินต้นมะนาวที่เป็นโรค > 50%

เมื่อพบมะนาวต้นไหนอยู่ระดับ3 ควรขุดต้นเผาทิ้ง ส่วนระดับ1-2 ควรตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคออก หมั่นฉีดพ่นยากำจัดแมลงชนิดปากดูดซึ่งเป็นแมลงพาหะและฉีดวัคซินพืช (ชื่อการค้า ดีท๊อกซิน) ป้องกันเป็นประจำ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค

4. ฉีดพ่นยากำจัดแมลงชนิดปากดูดซึ่งเป็นแมลงพาหะในช่วงที่ต้นมะนาวเริ่มแตกใบอ่อน ในกรณีที่ปลูกใหม่หรือในแปลงที่ไม่พบอาการของโรค

5. ควรฉีดพ่นป้องกันด้วยวัคซินพืช ดีท๊อกซิน ก่อนที่จะเกิดอาการโรค เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ต้นพืช

6. ควรมีการตรวจหาโรคกรีนนิ่ง ทุกๆ 6 เดือน ด้วยการสุ่มเก็บใบมะนาวในสวนมาตรวจหาความเป็นโรคกรีนนิ่ง โดยวิธี PCR ในห้องปฏิบัติการ

31 @สงวนสิขสิทธิ์โดย สวนมะนาวท้ายไร่ จังหวัดพิจิตร