กลไกการเสื่อมสภาพของท่อ PE

โดยปกติการเสื่อมสภาพของท่อจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อความแข็งแรง, ความเหนียว, และการกัดกร่อนของสารเคมีนั้นมีมากกว่าที่ท่อจะรับได้ โดยความสามารถในการทนต่อการเสื่อมสภาพของท่อ PE นั้นใกล้เคียงหรือมากกว่าท่อที่ผลิตจากวัสดุชนิดอื่น

สาระน่ารู้

ท่อ PE ที่เหมาะในสวนมะนาวคือขนาด 25 mm

ท่อ PE 1 ม้วน มีขาดความยาว 50 เมตร และ100 เมตร

ความแข็งแรง - คือความสามารถของท่อในการทนต่อการเสียรูป ซึ่งการเสียรูปของท่ออาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น แรงดันของไหลภายในท่อหรือแรงกดจากภายนอก เป็นต้น โดยปกติท่อ PE สามารถทนต่อการสั่นไหวและการทรุดตัวของพื้นดินได้โดยไม่มีปัญหาใดๆ ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ ท่อ PE สามารถคงสภาพอยู่ได้หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น ในขณะที่ท่อที่ผลิตจากวัสดุชนิดอื่นได้รับความเสียหาย โดยการเสื่อมสภาพของท่อเกิดขึ้นเมื่อมีแรงกดทับหรืออุณหภูมิที่สูงเกินกว่าค่าที่ออกแบบไว้

ความเหนียว - คือความสามารถของท่อในการทนต่อการแตกร้าว ซึ่งการแตกร้าวสามารถแบ่งออกได้เป็นการขยายตัวของรอยร้าวอย่างช้า (Slow Crack Growth-SCG) และการขยายตัวของรายร้าวอย่างเร็ว (Rapid Crack Propagation-RCP) โดย SCG จะเกิดขึ้นเมื่อท่อได้รับ bending force ส่วน RCP เกิดจากการได้รับแรงดันที่มากเกินไป มาตรฐานต่างๆทั้งในและต่างประเทศได้กำหนดการทดสอบเพื่อหาความสามารถในการทนต่อการขยายตัวของรอยร้าวทั้งสองแบบ ซึ่งการออกแบบท่อต้องคำนึงถีงปัจจัยทั้งสองนี้เพื่อให้แน่ใจว่าการเสื่อมสภาพทั้งสองแบบนี้จะไม่เกิดขึ้นกับท่อเมื่อมีการใช้งานในสภาวะปกติ

ความสามารถในการทนสารเคมี - คือความสามารถของท่อในการทนการกัดกร่อนของสารเคมีทั้งสารเคมีที่ไหลในท่อและสารเคมีที่อยู่ภายนอกบริเวณใกล้เคียงกับท่อโดยที่คุณสมบัติต่างๆยังคงเท่าเดิม ซึ่ง PE สามารถทนสารเคมีส่วนใหญ่ได้ดี ยกเว้นตัวทำละลายอินทรีย์และน้ำมันที่ทำให้ท่อมีความแข็งแรงน้อยลง บางกรณีสารเหล่านี้อาจถูกดูดซึมไว้ที่ผนังท่อมีผลทำให้สมบัติบางชนิดของท่อเปลี่ยนแปลงไป แต่อย่างไรก็ตามสารเหล่านี้เมื่อถูกดูดซึมไว้ที่ผนังท่อแล้ว สามารถทำให้ระเหยออกจากผนังท่อได้ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าไม่มีการเสื่อมสภาพของท่อผู้ผลิตท่อจึงควรมีการวิเคราะห์ทางเคมีรวมทั้งการให้คำแนะนำต่อผู้นำไปใช้

44 @สงวนสิขสิทธิ์โดย สวนมะนาวท้ายไร่ จังหวัดพิจิตร