การจำแนกปุ๋ย แบบต่างๆ
สารหรือสิ่งซึ่งเราใส่ลงไปในดินที่ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพื่อวัตถุประสงค์ให้ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชโดยเฉพาะไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ที่พืชยังขาดอยู่ให้พืชได้รับอย่างเพียงพอ พืชสามารถเจริญเติบโตงอกงามดีและให้ผลิตผลสูงขึ้น โดยทั่วไปปุ๋ยแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ปุ๋ยอินทรีย์ และ ปุ๋ยเคมี
ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยที่ทำมาจากอินทรีย์วัตถุโดยกรรมวิธีทำให้เน่าเปื่อย ปุ๋ยพวกนี้ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และวัสดุเหลือใช้จากโรงงานผลิตสินค้าจำพวกเกษตรต่างๆทั้งในและต่างประเทศ ปุ๋ยคอกมีปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมค่อนข้างน้อย อินทรีย์ที่ได้จากการไถกลบเศษพืชหรือตอซังหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชแล้ว
ปุ๋ยคอก ส่วนมากใช้วัตถุดิบสำหรับการผลิตจำพวก ขี้เป็ด ขี้ไก่ ขี้หมู ขี้วัว ขี้แพะ ขี้ม้า เหมาะสำหรับนาข้าวที่เป็นดินทราย แถวภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ปุ๋ยหมัก ได้จากการหมักเศษพืช เศษผัก ผลไม้ หญ้าแห้ง ใบไม้ ฟางข้าว กิ้งไม้ ก้านไม้ หมักให้เน่าเปื่อยเสียก่อนนำไปใส่ในดินเป็นปุ๋ย
ปุ๋ยพืชสด ที่ได้จากการปลูกพืชบำรุงดินซึ่งได้แก่ พืชตระกูลถั่วชนิดต่างๆเช่น ถั่วเขียว ถั่วลาย ปอเทือง ถั่วขอ ถั่วพุ่ม ถั่วแปบ หมักทิ้งไว้ซักระยะก่อนนำไปใส่ในดินเป็นปุ๋ย
ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ปุ๋ยพวกนี้เป็นปุ๋ยที่ได้มาจากการผลิตหรือสังเคราะห์ทางอุตสาหกรรมจากแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ได้ตามธรรมชาติ หรือเป็นผลพลอยได้ของโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด ปุ๋ยพวกแอมโมเนียมซัลเฟต โพแทสเซียมคลอไรด์ ฯลฯ ซึ่งเป็นสารประกอบทางเคมี มีธาตุอาหารปุ๋ยคือ N หรือ P หรือ K เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยหนึ่งหรือสองธาตุ แล้วแต่ชนิดของสารประกอบที่เป็นแม่ปุ๋ยนั้น ๆ มีปริมาณของธาตุอาหารปุ๋ยที่คงที่ เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต มีไนโตรเจน 20% N ส่วนโพแทสเซียมไนเทรต มีไนโตรเจน 13% N และโพแทสเซียม 46% K2O อยู่ร่วมกันสองธาตุ แต่ไม่รวมถึงสารที่ใช้สำหรับปรับปรุงดิน เช่น ซีโอไลต์, ภูไมท์, โดโลไมท์, เป็นต้น
แม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยเดี่ยว มีธาตุอาหารพืชหลักเพียงธาตุเดียว เช่น
สูตร 46-0-0 ( ยูเรีย ) สูตร 0-46-0 ( ทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต )
สูตร 0-0-60 (โปตัสเซี่ยมคลอไรด์ ) สูตร 21-0-0 ( แอมโมเนี่ยมซัลเฟต ) สูตร 0-3-0 ( ร๊อกฟอสเฟต )
ปุ๋ยสูตรรวม มีธาตุอาหารพืชตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไป เช่น
สูตร 12-4-7 สูตร 20-10-12 สูตร 8-24-24
สูตร 15-7-19 สูตร 16-8-8 สูตร 30-0-0
สูตร 15-5-35 สูตร 13-13-21 สูตร 15-15-15
ปุ๋ยชีวภาพ คือ ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ที่สามารถสร้างธาตุอาหารหรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช หรืออาจเรียกว่า ปุ๋ยจุลินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพอาจมีหน้าที่บำรุงดินทางชิวภาพ เรียกว่าหัวเชื้อจุลินทรีย์ การจำแนกปุ๋ยตามชนิดของธาตุอาหาร
ปุ๋ยน้ำชีวภาพ หมายถึง น้ำสกัดชีวภาพที่ได้จากการสกัดน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืชและหรือเซลล์สัตว์ กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ คือการนำเอาจุลินทรีย์ที่มีชีวิต มาใช้เพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหาร กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพได้แก่ กลุ่มจุลินทรีย์แสง แลกโตบาซิรัส เพนนิซีเลี่ยม ไตรโคเดอมา ฟูเซเลียม สเตปโตไมซิส อโซเบคเตอ ไรโซเบียม ยีสต์รา รูปเส้นใย ฯลฯ
ปุ๋ยธาตุหลัก คือธาตุอาหารหลักหรือธาตุปุ๋ย มี 3 ธาตุ คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปรตัสเซียม ธาตุอาหารในกลุ่มนี้ พืชต้องการในปริมาณมาก และดินมักจะมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช จึงต้องเพิ่มเติมให้แก่พืชโดยการใช้ปุ๋ย
ปุ๋ยธาตุอาหารรอง มี 3 ธาตุ คือ แคลเซี่ยม แมกนีเซี่ยม และกำมะถัน พืชต้องการปริมาณน้อยกว่าธาตุอาหารหลัก
ปุ๋ยธาตุอาหารเสริม มี 7 ธาตุ คือ เหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี โบรอน โมลิดีนั่มและคลอรีน พืชต้องการในปริมาณเล็กน้อย แต่จะขาดตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้การจำแนกจากจำนวนธาตุหลัก
ปุ๋ยเชิงเดี่ยว คือ ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุอาหารหลักเพียงธาตุเดียว ได้แก่ ปุ๋ยไนโตรเจน,ปุ๋ยฟอสเฟต,ปุ๋ยโพแทช หน้าที่คือ ช่วยเร่งการเจริญเติบโต ใบใหญ่ มีสีเขียวเข้ม เร่งการขยายขนาดผลและเพิ่มผลผลิต
ปุ๋ยเชิงผสม คือ ปุ๋ยเคมีได้ที่จากการผสม ปุ๋ยชนิดต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้ธาตุอาหารตามต้องการ หน้าที่คือ ส่งเสริมการเจริญของรากฝอยและรากแขนง ช่วยการออกดอกและสร้างเมล็ด
ปุ๋ยเชิงประกอบ คือ ปุ๋ยเคมีที่ทำขึ้นด้วยวิธีทางเคมี และ มีธาตุอาหารหลักอย่างน้อยสองธาตุขึ้นไป หน้าที่คือ ส่งเสริมการสะสมแป้งและน้ำตาล โดยเฉพาะในพืชหัว ไม้ผลและพืชที่ให้แป้งและน้ำตาลช่วยทำให้ผลไม้มีผิวสวย เนื้อเยื่อของผลไม้มีคุณภาพและรสชาติดีขึ้น
273 @สงวนสิขสิทธิ์โดย สวนมะนาวท้ายไร่ จังหวัดพิจิตร