เคล็ดลับปลูกมะนาว อย่างไร ไม่ให้เป็นโรค แคงเกอร์
แคงเกอร์ถือว่าเป็นโรคที่เกิดกับมะนาวค่อนข้างแน่นอนหากการดูแลไม่ถูกต้องและต่อเนื่อง ถือได้ว่าเป็นโรคประจำตัวเลยก็ว่าได้ หากใครปลูกมะนาวแล้วไม่รู้จักโรคแคงเกอร์โอกาสขาดทุนมีสูงมาก เพราะสามารถเป็นได้ทุกส่วนของต้น ยิ่งเป็นที่ผลของมะนาวด้วยแล้วจะทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำได้ ดังนั้นก่อนปลูกต้องศึกษาเรื่องนี้เป็นสำคัญโดยเฉพาะผู้ที่ปลูกมะนาวพันธุ์แป้นรำไพซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่จำหน่ายผลผลิตได้ดีที่สุด จริงๆแล้วโรคแคงเกอร์นั้นหากรู้หลักการดูแลอย่างถูกวิธีก็จะไม่เกิดโรคนี้ระบาดแน่นอน ดังนั้นเรามารู้จักถึงการดูแลอย่างถูกวิธีเพื่อหลีกเลื่ยงโรคแคงเกอร์กันดีกว่าโดยเริ่มจาก
- กิ่งพันธุ์ ที่นำมาปลูกต้องไม่พบว่ามีโรคแคงเกอร์ติดมา หรือต้นแม่พันธุ์ต้องไม่พบว่ามีบางส่วนเป็นโรคแคงเกอร์ เพราะอาจจะมีเชื้อแฝงติดมากับกิ่งพันธุ์ หากเป็นไปได้ต้องไปดูให้ถึงสวนเพื่อความแน่ใจ
- ช่วงระยะเวลาการเพาะลงถุงดำในระยะ 20 วันต้องพ่นแคงเกอร์น็อค อย่างน้อย 1 ครั้ง
- หลังจากปลูกในแปลงแล้วช่วงแรกต้องตัดกิ่งแขนงที่งอกออกมาจากโคนต้น ภายในระยะ 1 คืบหรือสูงกว่านั้นออกเสีย เพื่อป้องกันเมื่อมะนาวโตจะได้มีแดดส่งถึงพื้นดินและโคนต้น ทรงพุ่มสวยงาม เข้าปฏิบัติงานได้ง่ายในอนาคต และต้องพ่นแคงเกอร์น็อค อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เนื่องจากมะนาวต้นยังเล็กอยู่ทำให้การสิ้นเปลืองยาน้อย และใช้เวลาในการฉีดพ่นไม่นานจึงสามารถพ่นยาได้บ่อยๆ ซึ่งถือว่าเป็นการป้องกันแบบได้ผล
เมื่อมะนาวโตขึ้นก็สามารถพ่นแคงเกอร์น็อค ให้ห่างๆ ได้เนื่องจากต้นมะนาวโตและอัตราการสิ้นเปลืองสูงอีกทั้งใช้เวลานานในการฉีดพ่นแต่ละครั้ง โดยอาจจะพ่นเพียงเดือนละ 2 ครั้งเท่านั้น แต่ไม่ควรทิ้งระยะให้นานเกินไปโดยเฉพาะช่วงหน้าฝน ซึ่งโรคแคงเกอร์จะระบาดมาก รูปแบบนี้เราจะสังเกตได้ว่า จะเป็นการป้องกันก่อนที่โรคแคงเกอร์จะเกิด ขอเน้นว่าป้องกันก่อนดีกว่าเพราะว่าโรคแคงเกอร์ถ้าเป็นแล้วจลุกลามรวดเร็ว
1.9k @สงวนสิขสิทธิ์โดย สวนมะนาวท้ายไร่ จังหวัดพิจิตร