โรคแคงเกอร์ โรคประจำตัวมะนาวที่ต้องระวัง
โรคแคงเกอร์เกิดได้ทั้งที่ใบ กิ่ง ก้าน และผลส้ม มีลักษณะอาการ ดังนี้ อาการบนใบ ใบอ่อนเกิดเป็นจุดกลม และฉ่ำน้ำ มีสีเหลืองซีดหรือเขียวอ่อน เมื่อขยายใหญ่ขึ้นมีลักษณะฟูคล้ายฟองน้ำสีเหลืองอ่อน ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม แตกสะเก็ดขรุขระนูนและแข็งตรงกลางเป็นรอยบุ๋ม มีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล การเกิดแผลนี้ส่วนใหญ่จะเกิดได้ทั้งสองด้านของใบ และเกิดรุนแรงมากเมื่อหนอนชอนใบเข้าทำลายด้วยใบที่เป็นโรคนี้มักร่วงก่อนกำหนด สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv citri Hasse
อาการบนกิ่งก้าน
เมื่อเชื้อทำลายกิ่งอ่อนเริ่มแรกเกิดจุดสีเหลืองนูน ฟูบนเปลือกของกิ่งก้าน ต่อมาแผลจะแตกแห้งเป็นสะเก็ดสีน้ำตาล แล้วลุกลามขยายออกไปตามความยาว หรือรอบกิ่งจนกลายเป็นปุ่มหรือ ปมขนาดใหญ่ รูปร่างไม่แน่นอน และไม่มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผล ถ้าเป็นโรครุนแรงจะทำให้ต้นแคระแกร็น กิ่งก้านแห้งตาย และทรุดโทรมอาจถึงตายได้
อาการบนผล
เกิดจุดแผลฝังลึกลงไปในผิวผลอ่อน แผลนูนคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองเข้ม ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแตกสะเก็ดมีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผลทำให้เกิดการปริแตกตามรอยแผลของโรคแคงเกอร์
การป้องกันกำจัด
เขตกรรม ใช้กิ่งพันธุ์ที่ปราศจากโรค แข็งแรงปลูก วิธีกล ตัดแต่ง เก็บใบหรือส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลาย เพื่อป้อง กันการระบาด สารเคมี และชีวภาพ
1. ฉีดพ่นสารประกอบทองแดง เพื่อป้องกันโรคในระยะส้ม เริ่มแตกใบอ่อน หรือฉีดพ่นแคงเกอร์น็อคทุกๆ 7-10 วัน
2. ป้องกันและกำจัดหนอนชอนใบ
3. ในกรณีที่เกิดโรคแคงเกอร์รุนแรงมากอาจใช้สาร streptomycin-sulfate หรือ agrimycin ฉีดพ่น แต่ไม่ควร ซ้ำเกิน 3 ครั้ง จะทำให้เชื้อโรคดื้อยาได้ หรือใช้แคงเกอร์น็อคฉีดพ่นให้ถูกรอยแผลที่เป็น
4. ควรกำจัดโรคให้หมดสิ้นในฤดูแล้งซึ่งทำได้ง่าย และ ควบคุมโรคตลอดฤดูฝนจะทำให้ไม่เกิดการระบาดของ โรคนี้ได้
การแพร่ระบาดเชื้อสาเหตุ เป็นเชื้อบักเตรีที่สามารถเข้าทางปากช่องใบ หรือบาดแผลได้ง่าย และสามารถฟักตัวอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน ดังนั้นโรคนี้จะระบาดรุนแรงเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมแพร่ระบาดโดยเชื้อติดไปกับกิ่งพันธุ์ ดิน และน้ำ
723 @สงวนสิขสิทธิ์โดย สวนมะนาวท้ายไร่ จังหวัดพิจิตร