รู้จักสปริงเกอร์

ระบบสปริงเกอร์คือ การบีบอัดฉีดน้ำให้แตกเป็นสายและหมุนเหวี่ยงไปรอบๆของต้นไม้ พืชผัก พืชสวน หรือช่วยฉีดเพื่อลดอุณหภูมิที่ร้อนนั้นให้ได้ร่มเย็น ชื่นฉ่ำด้วยละอองน้ำ

การเลือกใช้หัวสปริงเกอร์

* สปริงเกอร์สวนเกษตร เหมาะสำหรับพืชผัก ผลไม้ ที่ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง

* มินิสปริงเกอร์ เหมาะสำหรับสวนเกษตรสมัยใหม่ที่ต้องการประหยัดน้ำ ให้ปริมาณน้ำน้อย ทำให้ประหยัดขนาดท่อ และขนาดปั๊ม

* สปริงเกอร์ POP-UP เหมาะสำหรับสนามหญ้าที่มีพื้นที่ค่อนข้างกว้าง มีความสวยงามเมื่อติดตั้งเสร็จ ไม่เกะกะพื้นที่ มีความคงทน

* สปริงเกอร์ IMPACT เหมาะสำหรับพืชไร่ ขนาดใหญ่ ที่มีพื้นที่มากๆหัวมีรัศมีค่อนข้างไกล ทำให้ใช้หัวน้อยลง แต่จะต้องใช้กับท่อใหญ่

* สปริงเกอร์ BIG GUN เหมาะสำหรับสนามฟุตบอลจ่ายน้ำรัศมีกว้าง ใช้น้ำและแรงดันมาก เป็นระบบใหญ่ที่ใช้งบมาก

* หัวน้ำหยด เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ ไม่ต้องอาศัยแรงดัน ประหยัดน้ำ แต่ใช้เวลาทำงานมากกว่าสปริงเกอร์ * หัวพ่นหมอก ใช้ปริมาณน้ำน้อย แต่ใช้แรงดันมาก ( 4 bar ) ให้ละอองละเอียดเหมือนหมอก ใช้กับสวนกล้วยไม้ โรงเห็ด หรือ ใช้ลดอุณหภูมิของบ้านในหน้าร้อน ช่วยสร้างบรรยากาศในร้านอาหาร

วิธีการให้น้ำ

วิธีการให้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ให้น้ำแก่พืชนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 แบบ ใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ

1. การให้น้ำแบบ ฉีดฝอย (Sprinkler lrrigation)

2. การให้น้ำทาง ผิวดิน (Surface Irrigation)

3. การให้น้ำทาง ใต้ผิวดิน (Subsurface Irrigation)

4. การให้น้ำแบบ หยด (Drip or Trickle Irrigation)

การทำงานของระบบสปริงเกอร์

ระบบสปริงเกอร์รดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ มีองค์ประกอบของอุปกรณ์หลักๆดังนี้

- หัวจ่ายน้ำ (Sprinkler Head) มีหลายชนิด ถ้าแบ่งตามลักษณะการฉีดน้ำ จะมีแบบ spray head,rotor หรือแบบ น้ำหยดทั้งนี้การเลือกใช้งานจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของพื้นที่ ชนิดของดินและพืช

- วาล์วไฟฟ้า (Solenoid Valve) ใช้ไฟฟ้าความต่างศักย์ต่ำ (24 โวลท์) จากคอนโทรลเลอร์ในการสั่งการให้วาล์วเปิดปิด

- คอนโทรลเลอร์ (Controller) เป็นอุปกรณ์ที่สั่งให้วาล์วไฟฟ้าเปิดปิดตามเวลาและระยะเวลาที่กำหนดไว้

- เครื่องสูบน้ำ (Pump) ระบบสปริงเกอร์ใช้แรงดันน้ำค่อนข้างสูงจึงจำเป็นจะต้องมี เครื่องสูบน้ำ ที่เหมาะสมกับระบบโดยเฉพาะ

หลักการทำงานของระบบสปริงเกอร์

ตัวอย่าง เช่น ถ้าเรากำหนดไว้ 8 โมงเช้า คอนโทรลเลอร์จะสั่งให้วาล์วไฟฟ้าตัวแรกเปิดพร้อมกับสั่งให้เครื่องสูบน้ำทำงาน หัวสปริงเกอร์ ก็จะทำการจ่ายน้ำเพื่อรดน้ำต้นไม้ เมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนดไว้เช่น 3 นาทีคอนโทรลเลอร์ก็จะสั่งให้วาล์ว ไฟฟ้าตัวแรกปิด และสั่งให้วาล์วตัวถัดไปเปิด จนกระทั่งครบทุกวาล์ว คอนโทรลเลอร์ก็จะสั่งให้เครื่องสูบน้ำหยุดทำงาน จนกระทั่งถึงเวลาที่กำหนดให้รดน้ำครั้งต่อไประบบจึงจะเริ่มทำงานใหม่ถ้าติด ระบบตรวจวัดน้ำฝนไว้ด้วย วันใดที่มีฝนตก ระบบก็จะไม่ทำการรดน้ำ ไม่ทำให้พืชได้รับน้ำมากเกินไปและเป็นการช่วยประหยัดน้ำได้อีกทาง

รูปแบบต่างๆของสปริงเกอร์

รูปแบบของสปริงเกอร์ต่างกันออกไปตามการใช้งาน ซึ่งสามารถจำแนกหลักๆได้ดังนี้

- สปริงเกอร์แบบน้ำหยด เป็นสปริงเกอร์ที่มีอัตราจ่ายน้ำน้อยมาก ประมาณ 1-20 ลิตร/ชม.จ่ายน้ำออกมาในลักษณะ เป็นหยดหรือถ้าอัตราการจ่ายน้ำสูงก็จะไหลเป็นสายน้ำ เหมาะสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ในการงานระบบน้ำมาก่อน เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่จะก่อให้เกิดการอุตตันได้ง่าย พืชที่เหมาะแก่การใช้หัวจ่ายแบบน้ำหยด ได้แก่ การปลูกพืชระยะสั้น พืชผัก ไม้ดอก ไม้กระถาง เป็นต้น ไม่เหมาะสำหรับการปลูกไม้ผล เพราะอายุการใช้งานสั้น เป็นการลงทุนที่สูงเกินไป

- สปริงเกอร์แบบหัวพ่นฝอย เป็นสปริงเกอร์ที่พ่นกระจายน้ำแบบเป็นฝองละอองขนาดเล็กหรือเป็นเส้น มีรัศมีการกระจายน้ำใกล้ๆ ระยะประมาณไม่เกิน 1.5 เมตร เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการรัศมีการพ่นน้อย เช่น แปลงผัก ต้นไม้ หรือพุ่มไม้เล็กๆตามสวนในบ้าน ไม้ผลไม้ยืนต้นที่ทรงพุ่มไม้ไม่ใหญ่ เป็นต้น

- แบบหัวมินิสปริงเกอร์ เหมาะสำหรับไม้ผลเนื่องจากมีการกระจายน้ำให้เลือกหลากหลายครอบคลุมการใช้งาน ตั้งแต่เล็กจนโตเต็มที่ หัวจ่ายน้ำแบบมินิสปริงเกอร์ปกติจะใช้งานที่แรงดันประมาณ 15-20 เมตร สปริงเกอร์มีอัตราการจ่ายน้ำที่หลากหลายขนาด การเลือกอัตราจ่ายน้ำน้อยๆมีข้อดีที่ใช้ขนาดท่อส่งน้ำและเครื่องสูบน้ำเล็ก ได้ แต่มีข้อเสียที่ใช้เวลาในการให้น้ำนานกว่าหัวมินิสปริงเกอร์ที่มีอัตราการ จ่ายน้ำสูง และนอกจากนี้ยังมีโอกาสที่จะเกิด ปัญหาอุดตันที่รูฉีดหรือนมหนูได้ง่าย เนื่องจากรูฉีดมีขนาดเล็ก

การวางระบบสปริงเกอร์

ระบบสปริงเกอร์คือ การบีบอัดฉีดน้ำให้แตกเป็นสายและหมุนเหวี่ยงไปรอบๆของต้นไม้ พืชผักสวน หรือช่วยฉีดเพื่อลดอุณหภูมิที่ร้อนนั้นให้ได้ร่มเย็น

42 @สงวนสิขสิทธิ์โดย สวนมะนาวท้ายไร่ จังหวัดพิจิตร