ในกรณีรับประทานสารพิษ ผู้ช่วยเหลือต้องประเมินว่าผู้ป่วยรับสารพิษเข้าไปหรือไม่ โดยดูจากอาการและสิ่งแวดล้อมที่พบผู้ป่วยร่วมด้วย เช่น พบในห้องครัว มีภาชนะบรรจุสารพิษอยู่ในบริเวณนั้น เพื่อหาชนิดของสารที่รับประทานเข้าไป หรือเก็บตัวอย่างอาเจียนไปให้แพทย์ตรวจ
1. ทำให้สารพิษเจือจาง ในกรณีที่ผู้ป่วยรู้สึกตัวและไม่มีอาการชัก โดยการให้ดื่มน้ำซึ่งหาง่ายที่สุด ถ้าดื่มนมจะดีกว่า เพราะว่านอกจากจะช่วยเจือจางแล้วยังช่วยเคลือบและป้องกันอันตรายต่อเยื่อบุทางเดินอาหารถ้ากินสารพิษที่เป็นกรดอย่างแรงเข้าไป ให้ดื่มด่างอ่อนๆ เช่น น้ำปูนใส ผงชอล์คละลายน้ำ หรือถ้ากินด่างอย่างแรงเข้าไป ก็ให้ดื่มกรดอ่อนๆ เช่น น้ำส้มสายชู น้ำส้มคั้น น้ำมะนาว เป็นต้น
2. นำส่งโรงพยาบาลภายใน 15 นาที จะได้ช่วยล้างท้องเอาสารพิษนั้นออกจากกระเพาะอาหาร
3.ทำให้ผู้ป่วยอาเจียน เพื่อเอาสารพิษออกจากร่างกาย ในกรณีที่ต้องใช้เวลานานในการนำส่งไปโรงพยาบาล ผู้ช่วยเหลือต้องขจัดเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหารที่ยังไม่ได้ดูดซึมเข้าไปทำอันตรายต่อร่างกาย การทำให้อาเจียนมีหลายวิธี ดังนี้
-3.1 ใช้นิ้วชี้หรือด้ามช้อนล้วงกวาดลำคอให้ลึก หรือให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ แล้วล้วงคอ
-3.2 ใช้น้ำเกลือแกง 2 ช้อนชาผสมน้ำอุ่น 1 แก้ว หรือผงมาสตาร์ด 2 ช้อนชา ผสมน้ำอุ่น 1 แก้ว แล้วให้ดื่มให้หมดใช้น้ำอุ่นละลายสบู่พอสมควร (ห้ามใช้ผงซักฟอก) ใช้ในกรณีรับประทานสารปรอท แต่การทำให้อาเจียนอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้ จึงห้ามทำในผู้ป่วยต่อไปนี้
- หมดสติ หรือไม่ค่อยรู้สึกตัว
- รับประทานสารพิษชนิดกัดเนื้อ เช่น กรด-ด่าง ซึ่งจะพบรอยไหม้แดงบริเวณปาก การอาเจียนจะเป็นการทำให้สารพิษย้อนกลับขึ้นมาทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อของหลอดอาหารและปาก เกิดอาการรุนแรงมากขึ้น
- รับประทานสารพิษพวกน้ำมันปิโตรเลียม เช่น น้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน น้ำมันสน เป็นต้น
- สุขภาพไม่ดี เช่น โรคหัวใจ เป็นต้น
4.ดูดซับสารพิษในระบบทางเดินอาหาร เป็นการลดปริมาณการดูดซึมสารพิษเข้าสู่ร่างกาย สารที่ใช้ได้ผลดี คือ Activated charcoal ลักษณะเป็นผงถ่านสีดำ ให้ใช้ 1 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำ 1 แก้ว ให้ผู้ป่วยดื่ม หรือ ไข่ขาว 3-4 ฟองตีให้เข้ากัน หรือแป้งสาลีละลายน้ำ หรือ น้ำมันมะกอก หรือ น้ำมันสลัด อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
248 @สงวนสิขสิทธิ์โดย สวนมะนาวท้ายไร่ จังหวัดพิจิตร