การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา (ชนิดแห้ง) ในการควบคุมโรค พืช
เชื้อราไตรโคเดอร์มา ชนิดผงแห้ง 1ซอง บรรจุ 100 กรัม เทเชื้อผงแห้งลงในขวดที่มีน้ำสะอาด 600ซีซี ปิดฝาเขย่าๆ2-3ครั้งเป็นเวลา10 นาที ค่อยๆรินหรือกรองเอากากออก ได้เชื้อชนิดน้ำขนาด 500ซีซี ผสมสารจับใบสำหรับชีวภัณฑ์ทุกครั้งในอัตรา 2-5ซีซีต่อน้ำ20ลิตร ฉีดพ่น ทรงพุ่ม กิ่ง ก้าน ใบ ช่อดอก ผลของพืชทุกชนิดใช้ 100ซีซี/น้ำ 20ลิตร ไม่ควรเก็บเชื้อน้ำจากผงแห้งเกิน 24ชั่วโมง แต่สามารถแบ่งผสมได้ตามอัตราส่วน ที่เหลือในซองพับห่อใช้หนังยางรัดเก็บไว้ในตู้เย็นช่องแช่ธรรมดาได้มากกว่า 6 เดือน ควรผสมสารสกัดฮิวมิคแอซิด 5 กรัมในน้ำที่ใช้ฉีดพ่น20ลิตร
เชื้อราไตรโครเดอร์มา ชนิดผงแห้ง 1ซอง เทลงในน้ำ 100 ลิตร ใช้สารจับใบสำหรับชีวภัณฑ์ 10 ซีซี ลงไปในน้ำ กวนให้เข้ากัน ทิ้งไว้10นาที ใช้แช่เมล็ดพันธุ์พืช กิ่งปักชำ กิ่งตอน พืชหัว เหง้า หน่อ ท่อนพันธุ์ ฯลฯ เช่น ผักหวานบ้าน เมล็ดข้าวเปลือก ขิง ข่า ตะไคร้ หัวหอม กระเทียม เผือก มันสำปะหลัง เป็นต้น เป็นเวลา 1-2 ชั่วโมง(สำหรับเมล็ดพันธุ์)และ10-30นาที(สำหรับท่อนพันธุ์)ควรผสมสารสกัดฮิวมิคแอซิด 20 กรัมในน้ำที่ใช้แช่เมล็ดหรือท่อนพันธุ์100ลิตร
หลักการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดผงแห้งที่ละลายในน้ำเป็นแบบหัวเชื้อน้ำแล้ว
1. การฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)ลงในกระบะเพาะกล้า กระถาง หรือถุงปลูกพืช: หลังจากหยอดเมล็ดแล้ว หรือในระหว่างที่ต้นกล้าเริ่มเจริญเติบโต ควรฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)ลงดินให้ดินเปียกชุ่มบางกรณีอาจใช้ฉีดพ่นลงในถุงเพาะกล้าหรือกระถางปลูกพืช ตั้งแต่เริ่มปลูกหรือในระหว่างที่พืชกำลังเจริญเติบโต โดยฉีดให้ดินเปียกชุ่ม คล้ายกับการรดน้ำพืช
2. การฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)ลงในหลุมปลูกพืช: หลังจากเพาะเมล็ดหรือย้ายกล้าพืชลงปลูกในหลุมปลูกแล้ว ควรฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)ให้ดินในหลุมบริเวณรอบหลุมปลูกเปียกชื้น
3. การฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)ลงบนแปลงปลูกพืชหลังจากหว่านเมล็ด และคลุมแปลงด้วยฟางแล้ว ใช้น้ำ เชื้อฉีดพ่นในอัตรา 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร และให้น้ำแก่พืชทันที กรณีที่ต้องการคลุมแปลง ปลูกด้วยพลาสติกดำ ให้ฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)ลงบนแปลงปลูก อัตรา 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร ก่อนคลุมแปลงด้วยพลาสติกดำ (ต้องรดน้ำให้ดินบนแปลงปลูกมีความชื้น 60-80 เปอร์เซ็นต์ก่อน คลุมแปลงได้ก็จะดียิ่งขึ้น) สำหรับกรณีที่พืชกำลังเจริญเติบโตอยู่ในแปลงแล้ว สามารถฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)บนแปลง ในอัตรา 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร ได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช
4. การฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)โคนต้นพืช: ให้ฉีดพ่นโคนต้นพืชและดินบริเวณรอบโคนต้นพืชจนเปียกชื้น (เพื่อป้องกันโรคโคนเน่า) หรือใช้อัตรา 20 ลิตร/100 ตารางเมตร
5. การฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)หรือปล่อยไปพร้อมระบบการให้น้ำใต้ทรงพุ่มของพืช: ให้ฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)จนดินใต้ทรงพุ่มเปียกชื้น โดยใช้อัตรา 10-20 ลิตรต่อ 100 ตารางเมตร ควรให้น้ำแก่พืชก่อนและหลัง ฉีดพ่นเพื่อให้น้ำพาเชื้อซึมลงดิน และช่วยให้เชื้อเจริญได้ดีในดินที่มีความชื้น การปล่อยเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)ไปกับระบบการให้น้ำแก่พืช แบบพ่นฝอยสามารถทำได้ โดยใช้อัตรา 10-20 ลิตรต่อ 100 ตารางเมตร ควรให้น้ำเปล่าประมาณ 10-15 นาที เพื่อให้ดินชื้นก่อนปล่อยน้ำเชื้อ จากนั้นปล่อยน้ำเชื้อจนหมดถังแล้วต้องปล่อยน้ำเปล่าตามอีก 10-15 นาทีเพื่อไล่น้ำเชื้อที่ตกค้างในท่อให้ออกจากระบบท่อให้หมด เพื่อป้องกันเส้นใยของเชื้ออุดตันท่อ
6. การฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)ลงส่วนบนของต้นพืช ให้เติมสารจับใบสำหรับชีวภัณฑ์ลงในน้ำ 5 ซีซี./20 ลิตร ก่อนนำไปฉีดพ่นลงบนใบ กิ่งก้าน ดอก ผล ของพืช เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อโรค บางกรณีที่มีโรคระบาดรุนแรงอาจใช้ฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)เข้มข้นกว่าปกติคือ เชื้อสด 200 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นพืชทุก 3-7 วัน
7.ชุบ แช่ท่อนพันธุ์พืช หรือพืชหัว พืชเหง้า เช่นมันสำปะหลัง เผือก มัน ขิง ข่า ตะไคร้ หรือเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)อัตรา 200ซีซี/น้ำ20ลิตรโดยแช่ท่อนพันธุ์นาน 15-30นาทีและเมล็ดพันธุ์1-2ชั่วโมงก่อนปลูก
6. หลังปลูกท่อนพันธุ์แล้ว ให้ฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาสดผสมน้ำอัตรา 100ซีซี/น้ำ20ลิตรให้ ชุ่มบริเวณที่ปลูกท่อนพันธุ์ลงไป
ข้อแนะนำ
1. ควรฉีดพ่นในเวลาเย็นหรือบ่ายที่ความร้อนจากแสงแดดเริ่มน้อยลง กรณีที่บริเวณที่ฉีดพ่นไม่มีร่มเงาจากพืชเลย
2. ถ้าดินบริเวณที่จะฉีดพ่นเชื้อแห้งมาก ควรให้น้ำพอให้ดินมีความชื้นเสียก่อนหรือให้น้ำทันทีหลัง ฉีดพ่น เพื่อให้น้ำพาเชื้อซึมลงดิน
3. การปล่อยเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)ไปกับระบบน้ำหยดอาจก่อให้เกิดปัญหาการอุดตันของหัวน้ำหยด ในกรณีที่มี น้ำเชื้อเหลือค้างในท่อ โดยสปอร์จะงอกเป็นเส้นใยไปทำให้อุดตัน จึงจำเป็นต้องปล่อยน้ำล้างสายและ หัวน้ำหยดหลังการใช้ทุกครั้ง
4. การฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)ลงบนดินในแปลงปลูก ควรปฏิบัติควบคู่ไปกับการใช้เชื้อสดผสมปุ๋ยอินทรีย์หว่านคลุกเคล้าไปกับดินในช่วงของการเตรียมแปลงปลูกพืช เมื่อพืชอยู่ในระยะกำลังเจริญเติบโต สามารถ ใช้น้ำเชื้อฉีดพ่นลงดินและฉีดให้ทั่วทรงพุ่ม ใบ ดอก กิ่งก้าน ช่อดอก ผล ได้ทุก10วันหรือ3ครั้ง/เดือน
483 @สงวนสิขสิทธิ์โดย สวนมะนาวท้ายไร่ จังหวัดพิจิตร